วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ทีมชาติไทย

หน้านี้สำหรับทีมฟุตบอลชาย สำหรับทีมหญิงดูได้ที่ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย
ฟุตบอลทีมชาติไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายาช้างศึก
สมาคมสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ไทย[1]
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนโชคทวี พรหมรัตน์ ไทย
ใกล้รุ่ง ตรีจักรสังข์ ไทย
กัปตันธีราทร บุญมาทัน
ติดทีมชาติสูงสุดเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (131)
ทำประตูสูงสุดเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (70)
สนามเหย้าราชมังคลากีฬาสถาน
รหัสฟีฟ่าTHA
อันดับฟีฟ่า129
อันดับฟีฟ่าสูงสุด43 (พ.ศ. 2541)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด165 (ตุลาคม พ.ศ. 2557)
อันดับอีแอลโอ121 (พฤษภาคม พ.ศ. 2558)
อันดับอีแอลโอสูงสุด62 (มกราคม พ.ศ. 2544)
อันดับอีแอลโอต่ำสุด137 (เมษายน พ.ศ. 2528)
สีทีมเหย้า
สีทีมเยือน
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ประเทศเวียดนามใต้ เวียดนามใต้ 3 - 1 ไทย ไทย
(เวียดนามใต้; พ.ศ. 2499)
ชนะสูงสุด
ไทย ไทย 10 - 0 บรูไน บรูไน
(กรุงเทพไทย; 24 พฤษภาคม, พ.ศ. 2514)
แพ้สูงสุด
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 9 - 0 ไทย ไทย
(เมลเบิร์นออสเตรเลีย; 26 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2499)
เอเอฟซี เอเชียนคัพ
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน พ.ศ. 2515)
ผลงานดีที่สุดอันดับ 3, พ.ศ. 2515
กีฬาโอลิมปิก
เข้าร่วม2 (ครั้งแรกใน 1956)
ผลงานดีที่สุดรอบแรก 1956,1968
ฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยทีมมีประวัติของความสำเร็จในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือชนะเลิศอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ 3 สมัย และชนะเลิศซีเกมส์ 9 สมัย โดยทีมชาติไทยยังสามารถคว้าอันดับ 3 ในเอเชียนคัพ 1972 และเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง และในเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง โดยอันดับโลกฟีฟ่าที่ทีมชาติไทยทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับที่ 42 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ปัจจุบันทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 129 ของโลก จากการจัดอันดับโดยฟีฟ่า(มิถุนายน พ.ศ. 2558)

เนื้อหา

  [ซ่อน

ประวัติ[แก้]

ปีสมาคม
2459ก่อตั้ง
2468ฟีฟ่า
2500เอเอฟซี
2537เอเอฟเอฟ
ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2458 ในนามคณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม และเล่นการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก (พบกับทีมฝ่ายยุโรป) ที่สนามราชกรีฑาสโมสร ในวันที่ 20 ธันวาคม ในปีนั้น จนวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯ โดยลงเล่นในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 พบกับทีมชาติอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่นเวียดนามใต้ และ ฝรั่งเศส เพื่อต้อนรับการเสด็จประพาสอินโดจีนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชื่อของทีมชาติและชื่อของสมาคมได้ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2492 เมื่อสยามกลายเป็นประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคม ได้มีการหาผู้เล่นจากหลายสโมสรเพื่อจัดตั้งทีมที่จะลงแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1956ที่เมลเบิร์น โดยเป็นครั้งแรกของทางทีมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก ในการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ทีมไทยจับฉลากพบกับสหราชอาณาจักร ในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยทีมไทยพ่ายแพ้ไป 0-9 (ความพ่ายแพ้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์) และไม่ผ่านเข้ารอบก่อนชิงชนะเลิศ โดยในรอบที่สอง ทีมสหราชอาณาจักรก็พ่ายแพ้ให้กับทีมชาติบัลแกเรีย 6 ประตูต่อ 1 โดยทีมชาติบัลแกเรียได้เหรียญทองแดง ทีมชาติยูโกสลาเวีย ได้เหรียญเงิน และทีมชาติโซเวียตได้เหรียญทองไปครอง[2] ภายหลังจากการแข่งขัน หนังสือพิมพ์สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน ได้พาดหัวข่าวหน้ากีฬาว่า "ทีมชาติอังกฤษเฆี่ยนทีมชาติไทย 9 - 0" ซึ่งภายหลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ง พล.ต.ดร.สำเริง ไชยยงค์ นักฟุตบอลในชุดโอลิมปิกนั้น ไปศึกษาพื้นฐานการเล่นฟุตบอลจากประเทศเยอรมนีเพื่อให้กลับมาสอนการเล่นฟุตบอลให้แก่ทีมไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทยคว้าเหรียญทองในกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเรียกว่าซีเกมส์) ที่กัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย จนถึง พ.ศ. 2552 ประเทศไทยชนะเลิศการแข่งขันทุกๆสองปีรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง
ทีมไทยได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนอีกครั้งในปีพ.ศ. 2511 โดยแพ้ต่อทีมชาติบัลแกเรีย 0-7, ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 และทีมชาติเช็กโกสโลวาเกีย 0-8 ตกรอบแรกในการแข่งขัน ซึ่งผู้ชนะในคราวนี้ คือทีมชาติฮังการี ได้เหรียญทองไปครอง ซึ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันในโอลิมปิคเป็นครึ่งสุดท้ายจนถึง พ.ศ. 2552
ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันนี้ ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 โดยยิงลูกโทษชนะทีมชาติกัมพูชา 5 ประตูต่อ 3 ภายหลังจากเสมอกัน 2 ต่อ 2 ซึ่งในการแข่งขันนี้ ทีมชาติอิหร่าน ชนะเลิศ และทีมชาติเกาหลีใต้ ได้รางวัลรองชนะเลิศตามลำดับ
ในปี 2519 ประเทศไทยได้แชมป์คิงส์คัพครั้งแรก โดยเป็นแชมป์ร่วมกับ ทีมชาติมาเลเซีย ภายหลังจากที่มีการเริ่มมีการจัดคิงส์คัพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยต่อมาทีมชาติไทยได้เป็นแชมป์คิงส์คัพอีกหลายครั้งรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งด้วยกัน
สำหรับการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ทีมชาติไทยยังไม่สามารถที่จะชนะเลิศได้ โดยความสำเร็จสูงสุดคือเข้ารอบสี่ทีมสุดท้าย ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นที่ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2533 เช่นเดียวกับ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2541 และ เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้นที่ ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2545และครั้งล่าสุดเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นที่ โดฮา ในปี พ.ศ. 2549 ทีมชาติไทยก็เป็นทีมเดียวในย่านอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ (8 ทีมสุดท้าย) ทำผลงานได้ยอดเยี่ยมเข้ารอบโดยเป็นที่ 1 ของกลุ่มซี
ในปี 2537 ไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน กับอีก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการเชิญสโมสรชั้นนำจากทั่วโลก มาแข่งขันกับในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ เอฟซีปอร์โต (2540) อินเตอร์มิลาน (2540) โบคาจูเนียร์ (2540) ลิเวอร์พูล (2544) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (2547) เอฟเวอร์ตัน (2548) โบลตันวันเดอร์เรอร์ (2548) แมนเชสเตอร์ซิตี (2548 ที่ไทย และ 2550 ที่อังกฤษ[3]) และสโมสรชั้นนำอื่น ๆ และในปี 2551 ไทยตกรอบฟุตบอลรอบคัดเลือก รอบ 20 ทีมสุดท้าย โดยได้อยู่สายเดียวกับทีมอย่าง ญี่ปุ่น โอมาน บาห์เรน โดยไทยแข่ง6 นัด ไม่ชนะใครเลย แพ้ 5 เสมอ1 ทำให้ชาญวิทย์ ผลชีวิน ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ รีด อดีตนักเตะเอฟเวอร์ตันและทีมชาติอังกฤษก็เข้ามารับตำแหน่งแทนแต่ไทย ก็พลาดแชมป์ อาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ โดยการแพ้ทีมชาติเวียดนามรวมผลสองนัด 3-2 และยังพลาดคิงส์คัพ อีกรายการหนึ่งโดยดวลจุดโทษแพ้ ทีมชาติเดนมาร์ก จนถึงช่วงเดือนกันยายน ปี 2552 ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากอนาคตที่ไม่แน่นอนในการคุมทีมชาติเพราะรีดมีข่าวว่าจะไปทำงานที่สโมสรฟุตบอลสโตกซิตี โดยเป็นผู้ช่วยของ โทนี พูลิส ผู้จัดการทีมสโต๊คซิตี
ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552ไบรอัน ร็อบสัน ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติไทยซึ่งเซ็นสัญญากับทีมชาติไทยไปจนถึงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014.[4]. ต่อมาในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552, ร็อบสันสามารถนำทีมชาติไทยชนะนัดแรกในการคุมทีมของในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก ที่พบกับ ทีมชาตสิงคโปร์ ด้วยสกอร์ 3-1.[5] แต่ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552, ร็อบสันนำทีมชาติไทยแพ้นัดแรกต่อทีมชาตสิงคโปร์ เช่นกันด้วยสกอร์ 1-0 ด้วยการแพ้ในบ้านที่ประเทศไทย. ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ทีมชาติไทยสามารถยันเสมอกับจอร์แดน และ ทีมชาตอิหร่าน ด้วยสกอร์ 0-0 ทั้งสองนัดในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้ทีมชาติไทยได้เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2011 ที่ประเทศกาตาร์ได้. ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ร็อบสันสามารถนำทีมชาติไทยชนะทีมชาติสิงคโปร์ด้วยสกอร์ 1-0 ที่ประเทศไทย ในการแข่งขักระชับมิตร. ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ร็อบสันนำทีมชาติไทยเอาชนะทีมชาตอินเดีย ได้ด้วยสกอร์ 2-1 ในการแข่งขันกระชับมิตรเช่นกัน. ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ร็อบสันนำทีมชาติไทยตกรอบ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 ตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม หลังจากการเสมอ 2 นัดกับ ทีมชาติลาว และ ทีมชาติมาเลเซีย และแพ้ให้กับ ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย. ร็อบสันได้ยกเลิกสัญญาจากการเป็นผู้จัดการทีมในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554.[6]
ต่อมา วินฟรีด เชเฟอร์ อดีตผู้จัดการทีมเฟาเอฟเบชตุทท์การ์ท กับอดีตแมวมองสโมสรโบรุสเซียเมินเชนกลัดบัคสโมสรฟุตบอลชื่อดังในบุนเดสลีกาและอดีตผู้จัดการทีมทีมชาติแคเมอรูนวัย 61 ปีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชาติไทยแทนไบรอัน ร็อบสัน ที่มีปัญหาในเรื่องสุขภาพ. โดยงานแรกของเชเฟอร์คือการนำทีมชาติไทยไปแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2014 ในรอบคัดเลือกโซนเอเชีย ซึ่งแฟนบอลทุกคนได้สนับสนุนการทำงานของเชเฟอร์มาตลอดไม่ว่าการแข่งขันในบ้านหรือนอกบ้านจะมีแฟนบอลคอยติดตามอยู่ทุกเมื่อ
โดยนัดแรกทีมชาติไทยได้บุกไปแพ้ให้แก่ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย ด้วยสกอร์ 1-2 ซึ่งออกนำไปก่อนจากประตูของธีรศิลป์ แดงดา.[7] แล้วในการแข่งขันต่อมาทีมชาติไทยสามารถเอาชนะฟุตบอลทีมชาติโอมานได้ 3-0 จากประตูของสมปอง สอเหลบธีรศิลป์ แดงดาและการทำเข้าประตูตัวเองของราชิค จูมา อัล-ฟาร์ซี โดยเป็นชัยชนะนัดที่สองของทีมชาติไทยในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือกโซนเอเชียซึ่งนัดแรกคือนัดที่เอาชนะทีมชาติปาเสลสไตน์ได้ 3-2 ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2.[8] และสามารถยันเสมอทีมชาติซาอุดีอาระเบียได้ 0-0 ในนัดถัดมาแต่หลังจากนั้นทีมชาติไทยได้แพ้อีกทั้ง 3 นัดในการไปเยือน 2 นัดและเล่นในบ้าน 1 นัดจึงทำให้หยุดการฟุตบอลโลก 2014 ไว้ที่รอบแบ่งกลุ่ม (คัดเลือกรอบที่ 3 โซนเอเชีย).ในการแข่งขัน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2012 ทีมชาติไทยสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้ซึ่งต้องไปพบกับทีมชาตสิงคโปร์ด้วยการเอาชนะทีมชาติมาเลเซีย ด้วยสกอร์ 3-1 ในรอบก่อนรอบชิงชนะเลิศ[9] ในรอบชิงชนะเลิศนัดแรกทีมชาติไทยบุกไปแพ้ทีมชาติสิงคโปร์แต่ก็ได้ประตูทีมเยือน(อเวย์โกล์)จากอดุลย์ หละโสะและในนัดที่สองแข่งกันที่กรีฑาสถานแห่งชาติทีมชาติไทยสามารถเอาชนะทีมชาติสิงคโปร์ด้วยสกอร์ 1-0 จากประตูของกีรติ เขียวสมบัติแต่รวมผลสกอร์ทีมชาติไทยแพ้ 3-2.[10] ต่อมาเชเฟอร์ได้นำทีมชาติไทยไปแข่งในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือกรอบแบ่งกลุ่มซึ่งเขานำทีมชาติไทยแพ้ทั้ง 2 นัดและทำให้เขายกเลิกสัญญาระหว่างเขากับทีมชาติไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556และทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ตั้งเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองอดีตนักฟุตบอลชาวไทยชื่อดังเป็นผู้จัดการทีมชาติชั่วคราว ซึ่งนัดแรกของเกียรติศักดิ์ในการคุมทีมชาติไทยคือในการแข่งขันกระชับมิตรกับทีมชาติจีนโดยเกียรติศักดิ์สามารถนำทีมชาติไทยบุกไปชนะทีมชาติจีนถึงถิ่นด้วยสกอร์ 1-5[11]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งให้ สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ อดีตนักฟุตบอลชื่อดังชาวไทย เป็นผู้ฝึกสอนและเตรียมทีมชาติไทยไปแข่งกับทีมชาติอิหร่านในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก (แบ่งกลุ่ม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น